รู้หรือไม่? ทำไมเด็กญี่ปุ่นถึงสะพายกระเป๋า Randoseru ไปโรงเรียน ท่องเที่ยว / Japan through my eyes Published Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ เด็ก ๆ ก็ต้องเตรียมตัวที่เข้าเรียน ถ้าหากว่าคุณไปเดินเล่นที่ญี่ปุ่นในช่วงนี้ตอนเช้า ๆ คุณอาจจะเห็นเด็กหลาย ๆ คนสะพายเป้รูปร่างแปลกตา ดูกระชับ แต่ก็ท่าจะหนักเอามาก ๆ แบบนี้ ที่มีชื่อเรียกว่า Randoseru โดยกระเป๋าทรงนี้เป็นที่นิยมมาก ๆ ในหมู่เด็กประถม ซึ่งกระเป๋า Randoseru ก็มีราคาที่แพงและแรงเวอร์ ๆ เพราะกระเป๋า 1 ใบนั้น สนนราคาอยู่ที่ 30,000 – 100,000 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยก็ตั้ง 3,800 – 29,200 บาทเลยทีเดียว สาเหตุที่กระเป๋า Randoseru มีราคาแพง เป็นเพราะว่ามันเป็นกระเป๋าทำมือ ราคาก็จะแปรผันไปตามแบรนด์และดีไซน์ของตัวกระเป๋า แต่มันก็อาจจะคุ้มค่า หากคุณมองว่าถ้าซื้อกระเป๋าแบบนี้ใบเดียว แต่สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 6 ปี Randoseru คืออะไร? ถ้าอยากรู้ที่มาของกระเป๋า Randoseru ต้องพูดย้อนไปถึงสมัย Edo ในตอนที่ญี่ปุ่นถูกชาติตะวันตกปกครอง ตอนนั้นมีเป้สไตล์เนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ransel ซึ่งเป็นที่นิยมของเหล่าบรรดาทหารเอามาก ๆ ภายหลังจึงเกิดกระเป๋า randoseru ที่ถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจากกระเป๋าอีกที ransel พูดง่าย ๆ ก็คือ กระเป๋าของเด็กประถมแบบนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากกระเป๋าของชาวดัทช์นั่นเอง ตามปกติแล้ว กระเป๋า Randoseru นั้นจะหนักกว่ากระเป๋าเป้ทั่วไป โดยกระเป๋า Randoseru จะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200-1,500 กรัม เมื่อยังไม่ใส่หนังสือและอุปกรณ์การเรียนลงไป นั่นหมายความว่าถ้าวันไหนเรียนหลายวิชา หรือต้องพกข้าวกลางวันไปทานเองด้วย เด็ก ๆ อาจจะต้องแบกสัมภาระที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนเป้โพลีเอสเตอร์ทั่วไปนั้นมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 700 กรัมเท่านั้น เราลองมาดูกันดีกว่าว่ากระเป๋า Randoseru ใส่อะไรได้บ้าง ! แค่สมุด หนังสือเรียน รวม ๆ กันก็ปาเข้าไป 1-2 กิโลกรัมแล้ว ส่วนร่มและกล่องอาหารกลางวัน เด็ก ๆ มักจะถือแยกต่างหาก เพื่อบาลานซ์น้ำหนักที่ต้องแบกเอาไว้นั่นเอง แล้วแบบนี้จะดีต่อบุคลิกภาพของเด็กมั้ยนะ ? กระเป๋า Randoseru ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับสรีระของเด็ก ๆ โดยมีเบาะนุ่ม ๆ หุ้มที่ด้านหลังเอาไว้ เพื่อช่วยลดการเสียดสีและน้ำหนักที่จะกดทับกระดูกสันหลังของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังมีสายรัดที่ปรับระดับให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้ และเมื่อกระเป๋านั้นห้อยอยู่ในระดับเอว เด็ก ๆ จึงสามารถขยับร่างกายได้สะดวก รวมถึงการถอดกระเป๋าก็ง่ายขึ้นด้วย จริง ๆ แล้วกระเป๋า Randoseru ก็ไม่ได้ปล่อยน้ำหนักให้กดลงตรงกลางตรง ๆ แบบกระเป๋าเป้ทั่วไปหรอกนะ มันดีต่อสุขภาพมากกว่ากระเป๋าทั่ว ๆ ไปมากเลย อีกอย่างเวลาเปิดกระเป๋าแบบ Randoseru ออกมาแล้ว เด็ก ๆ ก็สามารถหาของที่อยู่ภายในได้ง่ายกว่าเป้ธรรมดาเอามาก ๆ แถมยังเอาพลาสติกมาห่อไว้กันน้ำเข้าเวลาฝนตก หรือป้องกันรอยขีดข่วนได้ด้วย สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ให้บุตรหลานใช้กระเป๋า randoseru ประเทศตะวันตกนิยมขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียน แต่คนญี่ปุ่นนั้นจะให้เด็ก ๆ เดินไปโรงเรียนเอง การที่ได้สะพายเป้ที่ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลนั้น จะไม่ทำให้การเดินไปโรงเรียนนั้นกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือว่ามีผลกระทบต่อสรีระทางร่างกายในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้กระเป๋า randoseru ก็ได้กลายเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ของความหวังและความสดใสทางการศึกษาของเด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถลงทุนให้กับเด็ก ๆ ได้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมเด็ก ๆ ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กระเป๋า randoseru กัน แหล่งข้อมูลอ้างอิง : fromjapan, ikidane-nippon, youtube1, youtube2, ebay, wish SHARE THIS Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine FOLLOW US ONFACEBOOK TAGS #bag#school#japanese school#Student#Randoseru Writer :: Superfon สวัสดีค่ะ ฝน ค่ะ นักเขียนตัวใหญ่แต่ใจดี พร้อมที่จะมาอัพเดตเรื่องราวต่างๆ ให้สาวๆ ได้รู้ทุกข่าวความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นก่อนใครที่นี่แน่นอน ห้ามพลาด ! 5 ร้านดงบุริที่จะได้ลิ้มรสอร่อยสไตล์ฮอกไกโดแบบเต็มๆ อร่อยบอกต่อ ! แนะนำร้านอาหารที่ดีสุดในย่านโคเอ็นจิ โตเกียว ประจำปี 2019 !! บทความที่เกี่ยวข้อง บทความอื่น ๆ ในคอลัมน์ Japan through my eyes ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP11 : จากชาวนา มาเป็นคนตกปลา updated 26.06.2018 ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP5 : จากพี่ชายกลายเป็น ผู้ปกครอง updated 21.03.2018 ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต เลิกงานแล้วทำอะไร ? มาดูกันว่าสาวออฟฟิศที่อยู่ตัวคนเดียวในโตเกียวใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง updated 20.12.2019 ท่องเที่ยว / Japan through my eyes When I was in Tokyo #4 ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่เริ่มต้นที่ใต้ ต้นซากุระ updated 04.01.2018 อัพเดตท่องเที่ยว / ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP6 : เบนโตะของฉันอร่อยที่สุด updated 04.04.2018 ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดป่วยฉุกเฉินที่แดนปลาดิบ updated 02.02.2020 ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต เกย์หล่อบอกต่อด้วย ตามมาดูผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายบนเวที Mr. Gay Japan 2020 updated 30.03.2020 Japan through my eyes / ท่องเที่ยว When I was in Tokyo #1 : เปิดหอพักนักศึกษาราคา 17,000¥ ในเมืองที่ว่ากันว่าค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก updated 16.11.2017 บทความอื่น ๆ ในคอลัมน์ Japan through my eyes
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP11 : จากชาวนา มาเป็นคนตกปลา updated 26.06.2018
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP5 : จากพี่ชายกลายเป็น ผู้ปกครอง updated 21.03.2018
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต เลิกงานแล้วทำอะไร ? มาดูกันว่าสาวออฟฟิศที่อยู่ตัวคนเดียวในโตเกียวใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง updated 20.12.2019
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes When I was in Tokyo #4 ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่เริ่มต้นที่ใต้ ต้นซากุระ updated 04.01.2018
อัพเดตท่องเที่ยว / ท่องเที่ยว / Japan through my eyes วูฟญี่ปุ่นครั้งแรกก็ติดใจแล้ว EP6 : เบนโตะของฉันอร่อยที่สุด updated 04.04.2018
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดป่วยฉุกเฉินที่แดนปลาดิบ updated 02.02.2020
ท่องเที่ยว / Japan through my eyes / ข้อมูลอัพเดต เกย์หล่อบอกต่อด้วย ตามมาดูผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายบนเวที Mr. Gay Japan 2020 updated 30.03.2020
Japan through my eyes / ท่องเที่ยว When I was in Tokyo #1 : เปิดหอพักนักศึกษาราคา 17,000¥ ในเมืองที่ว่ากันว่าค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก updated 16.11.2017