When I was in Tokyo #9 : ฉะโด พิธีชงชา กิโมโน และเหน็บชา

บทนำ

เพื่อนๆของเราในเอกญี่ปุ่นเกือบ 30 คนพร้อมใจกันเลือกมหาวิทยาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยนในจังหวัดต่างๆ ที่ไม่ใช่ ‘โตเกียว’ แต่เรากลับต่างกว่าคนอื่นเพราะเราตัดสินใจเลือกไปเรียนในเมืองหลวงของญี่ปุ่นแห่งนี้ ตอนที่บอกเพื่อนๆ ว่าเราจะไปโตเกียว ทุกคนพากันพูดว่า ‘โห ! โตเกียวเลยเหรอ แพงนะ’ หรือไม่ก็ ‘ไปโตเกียว ไปทำอะไร?’ เราเริ่มหวั่นว่าสิ่งที่เราเลือกมันถูกต้องไหม เราจะอยู่ยังไง แถมนอกจากเงินค่าเทอมที่มหาวิทยาลัยออกให้เราก็ไม่ได้เงินสนับสนุนอะไรอีก เงินจะพอไหม เตรียมใจไว้เลยว่าต้องลำบากแน่ๆ แต่เชื่อไหม ว่าสิ่งที่เราได้เจอ ได้เรียนรู้มาจากโตเกียว ให้อะไรเรามากกว่า ‘ของแพง’ ให้อะไรเรามากกว่า ‘เมืองหลวงที่ไม่มีอะไร’ เสียอีก When I was in Tokyo จะเป็นเรื่องที่ให้ทุกคนได้เห็นภาพของโตเกียวมากขึ้น จะทำให้ได้รู้ว่าชีวิตในโตเกียวไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด

Chapter 1

#1 : เปิดหอพักนักศึกษาราคา 17,000¥ ในเมืองที่ว่ากันว่าค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก เปิดหอพักเด็กแลกเปลี่ยนในโตเกียวให้ดูกันทุกซอกทุกมุม นี่แหละที่ที่เราจะอยู่ตลอด 1 ปีนี้

#2 : เริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย โตเกียวก็เช่นกัน จะมาอยู่ญี่ปุ่นต้องทำอะไรบ้าง มีการต้อนรับเด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนยังไงบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกันเลย

#3 : มหา’ลัยของเราน่าอยู่ อู้หูงานดีทุกคน พาไปรู้จักกับมหาวิทยาลัยโคะคุชิคัง ที่ๆ คอยดูแลเรามาตลอด 1 ปี รวมถึงพาไปดูชีวิตในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น สนุกขนาดไหนห้ามพลาด

#4 : ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นเริ่มต้นจาก ฮานามิ ใครจะไปรู้ว่าแค่ไปดูดอกไม้จะทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเรามันพัฒนาได้มากขนาดนี้

#5 : จนขนาดนี้ต้องไบโตะ(งานพิเศษ)แล้วล่ะ!? เล่าเรื่องการทำไบโตะ (งานพิเศษ) ครั้งแรกในชีวิตเพื่อแลกกับความอยู่รอดในเมืองใหญ่ที่ทำให้เราได้เห็นคนญี่ปุ่นในมุมมองของลูกค้า

#6 : งบน้อยอ่ะกินอะไรดี ? พาไปหาแหล่งอาหารถูก และอร่อยที่เราชอบแวะเวียนไปตลอด 1 ปี

#7 : ขึ้นชื่อว่าคนญี่ปุ่น... ความสัมพันธ์กับเพื่อน เจ้านาย คนญี่ปุ่นที่บางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด มีอะไรมากมายที่เรายังไม่เข้าใจพวกเขาหรืออาจจะเข้าไม่ถึงเลย

#8 : เมื่อต่างด้าวอยากคาวาอี้แบบสาวญี่ปุ่น รู้แหละว่าเงินมีจำกัด แต่อยากช็อปปิ้งอ่ะมันช่วยไม่ได้ เราจะพาทุกคนไปหาแหล่งช็อปปิ้งถูกๆ ในโตเกียวที่เราชอบไปเอง

#9 : ฉะโด พิธีชงชา กิโมโน พามาดูพิธีชงชาแบบเต็มรูปแบบ จัดเต็มในชุดกิโมโนครั้งแรกในชีวิต ดื่มจริง นั่งจริง เมื่อยจริง

#10 : ทัศนะศึกษาฟูจิที่ไม่เห็นฟูจิ เล่าความเฟลแต่ประทับใจกับการไปตามฟาฟูจิซังกับทริปครั้งสุดท้ายกับมหาวิทยาลัย

#11 : My routine in 1 day อยู่ๆ มาเกือบจะครบปี ชีวิตก็เริ่มวนลูปไปมา มาดูกันว่าเมื่อมาอยู่ญี่ปุ่นเราต้องทำอะไรบ้างใน 1 วัน

#12 : หิมะตกในเดือนพฤศจิกายน เล่าเรื่องความตื่นเต้นของสองเด็กไทยเมือครั้งมีหิมะหลงฤดูตกในรอบ 50 ปีของญี่ปุ่น

#13 : เรื่องที่รู้สึกขัดใจในญี่ปุ่น ตอนแรกๆ ก็ตื่นตาตื่นใจอยู่หรอก แต่พออยู่มานานๆ เข้าก็รู้สึกคิดถึงสิ่งที่คุ้นชินตอนอยู่ที่ไทยขึ้นมา ที่ไทยทำได้ แต่ที่ญี่ปุ่นทำไม่ได้

#14 : เม้ามอยเพื่อนรัก ความทรงจำสุดแสนประทับใจของเพื่อนๆที่คอยอยู่ข้างๆเราตลอด 1 ปีที่ญี่ปุ่น

#15 : ถึงเวลาอำลา ‘พิธีจบการศึกษา’ ข้อคิดต่างๆ ที่ได้ในวันพิธีจบการศึกษาของนักเรียนแลกเปลี่ยน ในที่สุดการจากลาก็มาถึงจนได้

สวัสดีค่ะทุกคน ตอนนี้ When I was Tokyo ของเราก็ปามาตอนที่ 9 เข้าไปแล้วมีแต่เรื่องบ่นชีวิตจนๆ ของตัวเอง ช้อปปิ้งซะบ่อย กินซะเยอะ ยังไม่มีอะไรที่ดูผู้ดีแบบกุลสตรีชาวญี่ปุ่นบ้างเลย เอาล่ะ มาค่ะ ! ตอนนี้แหละเราจะพาทุกคนไปซึมซับบรรยากาศแบบญี่ปุ่นแท้ๆ (พร้อมอาการเหน็บชา)ไปพร้อมๆ กัน ในฉะโด หรือ พิธีชงชา นั่นเอง !

อาจารย์จากเซ็นเตอร์ส่งเมลมาถึงพวกเราเด็กแลกเปลี่ยนว่า “เดี๋ยวจะมีพิธีชงชาที่จัดขึ้นเพื่อพวกเราโดยเฉพาะเลยนะ แถมมีชุดกิโมโนให้ใส่ด้วยนะ” คือตอนแรกที่อ่านเมลนี้ในใจนึกไปถึงพิธีชงชาที่อาจารย์ที่ไทยเคยพาไปร่วมงานแถวๆ สุขุมวิทเมื่อปีก่อน ความทรงจำที่นึกได้มีอยู่ไม่กี่อย่างคือ ชาขม ขนมอร่อย และเหน็บชา เพราะฉะนั้นครั้งนี้เราเลยลังเลอยู่สักพัก แต่พอคิดถึงภาพตัวเองที่จะได้ใส่ชุดกิโมโนแบบแท้ๆ แล้วก็เอาวะ ! โอกาสแบบนี้ไม่ได้หากันง่ายๆ เด้อ

งานในครั้งนี้เราจะมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียนอีกแคมปัสนึงของมหาวิทยาลัย นั่นก็คือ มาจิดะ (町田) ที่กว้างขวางกว่าของเราเยอะ มีสนามเบสบอลที่ใหญ่มากก สมแล้วที่เป็นม.กีฬา แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับวันนี้ เพราะพอพวกเราเดินไปถึงสถานที่จัดงาน อาจารย์ที่คอยอยู่ก็จัดแจงพาพวกเราไปใส่ชุดกิโมโน แยกชายหญิง และใจดีมาก สอนใส่ให้ทุกขั้นตอนเลย สังเกตได้ว่าพอทุกคนใส่ชุดเสร็จแล้วเหมือนวิญญาณความเป็นผู้ดีจะเข้าสิงกันไปหมด เพราะแต่ละคนจะเดินอย่างเรียบร้อย ค่อยๆ ก้าวช้าๆ  (ไม่ใช่อะไร ชุดมันแคบ 55555)

พอมาถึงห้องพิธีชงชาก็ยิ่งรับรู้ได้ถึงความเป็นญี่ปุ่น และความขลัง ในห้องมีรูปภาพแบบญี่ปุ่น และดอกไม้ที่จัดแบบอิเคบานะวางไว้ที่โทโคโนมะ ตรงมุมห้องด้านซ้ายมีกาน้ำและเครื่องมือชงชาวางอยู่ พวกเราถูกจัดให้นั่งในฝ่ายรับชาเรียงกันตามแนวห้อง และแน่นอนพวกเราต้องนั่งท่าเทพธิดากันทุกคน

อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเริ่มพิธีชงชาขึ้น ทุกอย่างเป็นไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่การเดินเข้าห้อง การยกเครื่องมือต่างๆ มาวาง การเสิร์ฟก็ต้องมีพิธีรีตรอง เราได้เรียนรู้มารยาทเวลาที่อาจารย์ยกขนมหรือน้ำมาเสิร์ฟ คือ ก่อนจะรับเราต้องพูดว่า โอะซากินิ (ขอทานก่อนนะคะ) ต้องทำแบบนี้ทีละคน คนละสองรอบ รอบแรกจะเป็นขนมญี่ปุ่น รอบสองจะเป็นชาเขียวที่เข้มข้นกว่าที่เคยกินเป็นสิบเท่า

ระหว่างที่อยู่ในพิธีที่ยาวนานเป็นชั่วโมงพวกเราเด็กแลกเปลี่ยนมักหันมามองหน้ากันหลายครั้ง บ้างก็ทำหน้าเหยเกประมาณว่า “เมื่อยไม่ไหวแล้วว้อยยย ” แต่สิ่งที่ได้รับมาจากวันนั้นคือความอดทน ความสงบในใจ และความอิ่มเอมใจเพราะประทับใจในศิลปะชั้นสูงที่สอดแทรกอยู่ในพิธีนี้ แม้ว่าหลังจบพิธีพวกเราแต่ละคนแทบจะลุกกันไม่ขึ้นก็ตามเพราะเหมือนขาจะไร้ความรู้สึกไปแล้ว

FOLLOW US ON
FACEBOOK